เมนู

พึงทราบวินิจฉัยในสมุฏฐานเป็นต้น ดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฏ-
ฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท ย่อมตั้งขึ้นทางกายกับจิตเป็นกิริยา เป็น
สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 2
โดยเป็นสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาทั้งสองแล.

วินีตวัตถุในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ 1


บรรดาวินีตวัตถุทั้งหลาย เรื่องความฝันมีนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้ว ในอนุบัญญัตินั้นแล. เรื่องถ่ายอุจจาระปัสสาวะหลายเรื่อง มี
เนื้อความชัดเจนทั้งนั้น.
ในเรื่องวิตก บทว่า กามวิตกฺกํ ได้แก่ ความตรึกถึงกามที่อาศัย
เรือน. ในเรื่องกามวิตกนั้น ตรัสอนาบัติไว้แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น ภิกษุ
ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก. เรื่องน้ำร้อนเรื่องแรกง่ายแล. ในเรื่อง
ที่ 2 ภิกษุนั้นใคร่เพื่อจะปล่อย เอาน้ำร้อนสาดแล้วสาดอีกซึ่งนิมิตแล้ว
อาบน้ำ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับอาบัติแก่เธอ. ในเรื่อง
ที่ 3 เป็นถุลลัจจัยเพราะมีความพยายาม. เรื่องยาและเรื่องเกา มีเนื้อความ
กระจ่างทั้งนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในมัคควัตถุหลายเรื่อง ดังนี้:- เมื่อภิกษุรูปแรก
มีขาล่ำกำลังเดินทาง อสุจิได้เคลื่อน เพราะความเสียดสีในที่แคบ ไม่
เป็นอาบัติแก่เธอ เพราะไม่มีความประสงค์ในการให้เคลื่อน. สำหรับรูป
ที่สอง อสุจิได้เคลื่อนอย่างนั้นเหมือนกัน แต่เป็นสังฆาทิเสส เพราะมี

ความประสงค์ในการให้เคลื่อน. รูปที่สาม อสุจิไม่เคลื่อน แต่เป็นถุล-
ลัจจัย เพราะมีความพยายาม. เพราะเหตุนั้น ภิกษุกำลังเดินทาง เมื่อ
ความกลัดกลุ้มเกิดขึ้น ไม่ควรเดินทาง พึงหยุดเดิน ยังจิตให้สงบโดย
มนสิการในอสุภเป็นต้น กำหนดกรรมฐานด้วยจิตบริสุทธิ์ แล้วจึงเดิน
ต่อไป ถ้าหยุดยืนแล้วไม่อาจบรรเทาได้ พึงแวะออกจากหนทาง นั่ง
บรรเทาแล้วเดินกำหนดกรรมฐานด้วยจิตบริสุทธิ์นั่นแล.
ในเรื่องฝักหัวไส้หลายเรื่อง พวกภิกษุเหล่านั้น จับหัวไส้*ให้แน่น
ปล่อย (เบา) ให้เต็มแล้ว ๆ ถ่ายปัสสาวะ เหมือนพวกเด็กชาวบ้าน.
ในเรื่องเรือนไฟเมื่อภิกษุอังท้องอยู่ มีความประสงค์จะให้เคลื่อนก็ดี
ไม่ประสงค์จะให้เคลื่อนก็ดี เมื่ออสุจิเคลื่อนแล้ว เป็นอนาบัติเหมือนกัน.
เมื่อกระทำบริกรรมอยู่ อสุจิเคลื่อนด้วยอำนาจแห่งการยังนิมิตให้เคลื่อน
ไหว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับอาบัติในฐานะแห่งอาบัติ.
ในเรื่องเสียดสีด้วยขาหลายเรื่อง ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีอรรถกถา
อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติแก่ภิกษุเหล่าใด, ภิกษุเหล่านั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า เสียดสีอยู่โดยรอบองคชาต ให้ถูกต้ององคชาตนั้น
แล้ว. เรื่องสามเณรเป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้น.
ในเรื่องดัดกาย คำว่า กายํ ถมฺเภนฺตสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ
นั่งนานหรือนอนนานก็ดี กระทำนวกรรมก็ดี แล้วดัดกายเพื่อแก้ความ
เมื่อขยบ.
*สารัตถทีปนี 2/26. วตฺถึ ทฬฺหํ คเหตฺวาติ องฺคชาตสฺส อคฺเค ปสฺสาวนิคฺคมนฐาเน จมฺมํ
ทฬฺหํ คเหตฺวา แปลว่า ข้อว่า จับหัวไส้ให้แน่นนั้น ได้แก่ จับที่ปลายองคชาต คือ หนังใน
ที่ซึ่งปัสสาวะไหลออกให้แน่น

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องเพ่งดู ดังนี้:- แม้ถ้าว่า หญิงนั้นนุ่งผ้า
ตั้งร้อยชั้น ภิกษุยืนข้างหน้าก็ตาม ข้างหลังก็ตาม เพ่งดูว่า "นิมิตอยู่
ในโอกาสชื่อนี้" เป็นทุกกแท้. ก็เมื่อเพ่งดูนิมิตแห่งพวกเด็กหญิงชาว
บ้านผู้ไม่นุ่งผ้า จะต้องกล่าวอะไรเล่า ? ในนิมิตแม้แห่งสัตว์เดียรัจฉาน
ก็มีนัยเหมือนกันนี้. แต่เมื่อภิกษุไม่เหลียวไปข้างโน้นข้างนี้ เพ่งดูโดย
ประโยคเดียว แม้ตลอดทั้งวัน ก็เป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อเหลียวดู
ทางโน้นและทางนี้ เพ่งดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค. พระ-
วินัยธร ไม่พึงปรับด้วยอำนาจแห่งการลืมตาและหลับตา (กะพริบตา).
เมื่อเพ่งดูโดยบังเอิญ กลับพิจารณาแล้วตั้งอยู่ในสังวรอีก เป็นอนาบัติ.
เมื่อละสังวรนั้นแล้ว เพ่งดูอีก เป็นทุกกฏทีเดียว. เรื่องช่องลูกดาล
เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างทั้งนั้น .
ในเรื่องอาบน้ำหลายเรื่อง พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติแก่พวก
ภิกษุผู้เอานิมิตฟาดกระแสน้ำ. แม้เรื่องน้ำโคลนหลายเรื่อง ก็มีนัยเหมือน
กันนี้. ก็ในเรื่องน้ำโคลนนี้ น้ำโคลนท่านเรียกว่า อุทัญชละ. เรื่อง
อื่น ๆ นอกนี้ทั้งหมดเรื่องวิ่งในน้ำเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยอุบายนี้
เหมือนกัน. ส่วนความแปลกกัน ในเรื่องบุปผาวลีย์ดังต่อไปนี้:- ถึงว่า
จะไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์ในอันให้เคลื่อน. แต่กระนั้น
ก็เป็นทุกกฏ เพราะการเล่นเป็นปัจจัย ดังนี้แล.
สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2


เรื่องพระอุทายี


[375] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นท่าน
พระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของท่านงดงาม น่าดู น่าชม มีห้องกลาง มี
ระเบียงโดยรอบ เตียงตั่งฟูกหมอน จัดไว้เรียบร้อย น้ำฉัน น้ำใช้ ตั้ง
ไว้ดีแล้ว บริเวณเตียนสะอาด ประชาชนเป็นอันมากพากันมาชมวิหาร
ของท่านพระอุทายี แม้พราหมณ์คนหนึ่งกับภรรยาก็เข้าไปหาท่านพระ-
อุทายี แล้วได้กล่าวกะท่านว่า พวกผมอยากชมวิหารของท่าน ท่าน
พระอุทายีกล่าวเชิญว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญชมเถิดพราหมณ์ แล้วถือลูกดาล
ไขลิ่มผลักบานประตูเข้าไป
แม้พราหมณ์นั้นก็ตามหลังท่านพระอุทายีเข้าไป ส่วนพราหมณีตาม
หลังพราหมณ์เข้าไป ขณะนั้น ท่านพระอุทายีเดินไปเปิดบานหน้าต่างบาง
ตอน ปิดบานหน้าต่างบางตอนรอบห้อง แล้วย้อนมาทางหลัง จับอวัยวะ
น้อยใหญ่ของพราหมณีนั้น
ครั้น พราหมณ์นั้นสนทนากับ ท่านพระอุทายีแล้ว ก็ลากลับไป
พราหมณ์นั้นดีใจเปล่งวาจาแสดงความยินดีว่า พระสมณะเธอสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านี้ อยู่ในป่าเช่นนี้ ยังมีอัธยาศัยดี แม้ท่านพระอุทายีอยู่ใน-
ป่าเช่นนี้ ก็ยังมีอัธยาศัยดี
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พราหมณีได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า
พระอุทายีจะมีอัธยาศัยดีแค่ไหน เพราะพระอุทายีได้จับอวัยวะน้อยใหญ่
ของดิฉันเหมือนที่ท่านจับดิฉัน